Tuesday, November 18, 2014

สยาม และ ไทย

สยาม เป็นชื่อที่ใช้เรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บริเวณประเทศไทยในสมัยโบราณมาจากคำที่คนกลุ่มมอญ-เขมรใช้ ซึ่งมีหลักฐานบริเวณระเบียงด้านใต้ของนครวัด ประเทศกัมพูชาว่า สยามหรือเสียม เป็นชื่อที่ใช้เรียกคนป่าแถบแม่น้ำเจ้าพระยา แต่จากบันทึกของลาลูแบร์ชาวสยามจะเรียกตนเองว่า ไท แปลว่า อิสระ

สยามกลายเป็นชื่อประเทศอย่างเป็นทางการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงใช้ชื่อสยามในการทำสัญญากับต่าวชาติ เนื่องจากเป็นยุคจักรวรรดินิยมพระองค์จึงทรงพยายามเปลี่ยนแปลงประเทศให้มีความทันสมัย และเนื่องจากประเทศประกอบด้วยคนหลายชาติพันธ์ุ ทั้งไทย ลาว มอญ ญวน เขมร แขก จีน ฝรั่ง และมลายู การใช้ชื่อ ราชอาณาจักรสยาม อย่างเป็นทางการจึงช่วยสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ต่อมารัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสลคราม ต้องการปลุกแนวคิดชาตินิยม จึงเปลี่ยนชื่อ สยาม เป็น ไทย ตามประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 1 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482

Monday, November 17, 2014

ดอยอินทนนท์ สูงสุดแดนสยาม

ยอดดอยอินทนนท์ เป็นจุดสูงสุดของประเทศไทย ตั้งอยู่บนเทือกเขาถนนธงชัย จังหวังเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับทะเลประมาณ 2,565 เมตร

ดอยอินทนนท์ได้รับประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อปี่ พ.ศ. 2515 มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร และเนื่องจากมีขนาดใหญ่มาก ทำให้ในอดีตมีชื่อว่า ดอยหลวง ซึ่งแปลว่าดอยใหญ่ในภาษาเหนือ และเปลี่ยนชื่อเป็นดอยอินทนนท์เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงครองนครเชียงใหม่ และนอกจากนี้ยังเป็นที่ฝังพระอัฐิบางส่วนของพระองค์อีกด้วย



นอกจากจะเป็นจุดสูงสุดในแดนสยามแล้ว ดอยอินทนนท์ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยงยอดนิยมในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากมีป่าธรรมชาติสวยงาม มีพันธ์ุไม้หายาก เช่น กุหลาบพันปี นางพญาเสือโคร่ง และกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ สถานีวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช (รัชกาลที่ 9)

Sunday, November 16, 2014

หัวหิน ตำนานสถานตากอากาศ

หัวหินเป็นสถานที่ตากอากาศชายทะเลที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เนื่องจากในสมัยนั้นเชื่อพระวงศ์และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่นิยมเดินทางเปลี่ยนบรรยากาศชายทะเล ส่วนหนึ่งเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากอากาศในเมืองหลวง ประกอบกับมีการสร้างเส้นทางรถไฟสายใต้ผ่านอำเภอหัวหิน ทำให้เดินทางสะดวก หัวหินจึงกลายเป็นเมืองตากอากาศที่มีบ้านพักสวยงามของเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และเศรษฐีอยู่เป็นจำนวนมาก



ปัจจุบันหัวหินยังคงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของคนไทย เนื่องจากเป็นสถานตากอากาศที่ยังคงกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ไทยในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้ผสานกับวัฒนธรรมสมัยใหม่เป็นอย่างดี

Saturday, November 15, 2014

ภูเก็ต ไข่มุกอันดามัน

ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม คือคำขวัญของจังหวัดภูเก็ต เกาะขนาดใหญ่อันสวยงามในภาคใต้ของไทย มีประวัติความเป็นยาวนานกว่า 3,000 ปี เนื่องจากมีการขุดค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับอารยธรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และพบบันทึกในสมัยกรีกโบราณที่กล่าวถึงภูเก็ตในชื่อแหลมจังซีลอน



ในอดีตภูเก็ตเคยเป็นแหล่งเหมืองแร่หลายชนิด เช่น ดีบุก แทนทาลัม ทำให้เกิดเศรษฐีเหมืองแร่ขึ้นมากมาย ธุรกิจเหมืองแร่เจริญเติมโตอย่างต่อเนื่องจรถึงปีพ.ศ. 2510 ก็เริ่มซบเซาลง ประกอบกับในปีพ.ศ. 2529 มีการเผาโรงงานถลุงแร่แทนทาลัมซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุนยุคเหมืองแร่ และก้าวเข้าสู่ยุคท่องเที่ยวของภูเก็ตอย่างแท้จริง เนื่องจากมีนักธุรกิจเข้ามาลงทุนด้านการท่องเที่ยว มีการสร้างโรงแรมและรีสอร์ตหรูหราหลายแห่งซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมาจนถึงปัจจุบัน

Thursday, November 13, 2014

เจ้าภาพจัดการประชุม "อาเซียนภาคประชาชน 2013"

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556  ที่ผ่านมา ประเทศบรูไนในนามของสภาสตรีบรูไนและกระทรวงวัฒนธรรม เยาวชนและกีฬา ได้จัดการประชุม "อาเซียนภาคประชาชน 2013" ขึ้น ก่อนหน้าการเปิดการประชุม สุดยอดผู้นำอาเซียนเพียงไม่กี่วัน โดยการประชุมจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "อาเซียน อนาคตของเราร่วมกัน" มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจของประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อความสามัคคีและความเป็นเอกภพ หัวข้อการประชุมและเสวนาในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่เรื่องการส่งเสริมทางวัฒนธรรม ประเด็นสิทธิสตรี เด็ก คนพิการ กับการขยายโอกาสทางสังคม โดยรองประธานสภาสครีแห่งบรูไนได้กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลบรูไนเล็กเห็นความสำคัญดังกล่าวและให้การสนับสนุน ส่งเสริมสวัสดิการทางสังคมและความเท่าเทียมกันของประชาชนเสมอมา

Wednesday, November 12, 2014

มัสยิดสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน มินิทัชมาฮาล



ใจกลางกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน เป็นที่ตั้งของสุเหร่าที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันออก นั่นคือ "มัสยิดสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน" โดยชื่อมัสยิดตั้งตามพระนามของสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 28 แห่งบรูไนหรือพระราชบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน มัสยิดแห่งนี้ได้รับการขนาดนามว่าเป็น "มินิทัชมาฮาล" ด้วยสถาปัตยกรรมแบบอิสลามิกอาร์ต ที่ออกแบบโดยคาวาลีแยร์ รูดอลโฟ นอลลี ศิลปินชาวอิตาลี ใช้ทองคำสีทองสุกปลั่งจำนวนถึง 3.3ล้านแผ่นประดับยอดโดม

Friday, November 7, 2014

กัมปงเอเยอร์ หมู่บ้านกลางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

กัมปงเอเยอร์ หมู่บ้านกลางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก หากข้ามสะพานจากมัสยิดสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน จะพบหมู่บ้านกลางน้ำที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก ณ ปากแม่น้ำบรูไน นามว่า "กัมปงเอเยอร์" ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบรูไนมาตั้งแต่สมัยโบราณจงบจนปัจจุบัน ประชากรจำนวนเกือบ 1 ใน 10 ของประเทศอาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนี้



หมู่บ้านกลางน้ำแห่งนี้ ถือเป็นหนึ่งไฮไลต์ที่รัฐบาลอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นสีสันแห่งการท่องเที่ยวบรูไน นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวมุสลิมในบรูไน ในขณะเดียวกันก็ได้สัมผัสกับธรรมชาติของท้องน้ำและผืนป่าชายเลนใกล้หมู่บ้าน

Thursday, November 6, 2014

พระราชวังอิสตานา นูรุล อิมาน

พระราชวังอิสตานา นูรุล อิมานพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใครที่เคยไปเยือนประเทศบรูไน มักจะน่ำลือกันถึงความยิ่งใหญ่อลังการของพระราชวังอิสตานา นูรุล อิมาน มูลค่ารวมกว่า 422 ล้านดอลลาร์สหัรัฐ อันที่เป็นที่ประทับของสุลต่านองค์ปัจจุบัน ในพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 200,000 ตารางเมตร โดยพระราชวังแห่งนี้ได้รับการบันทึกให้เป็นพระราชวังสำหรับพักอาศัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัวเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดอีกด้วย



ภายในพระราชวังประกอบด้วยห้องทั้งหมด 1,788 ห้อง ห้องน้ำ 257 ห้อง สระว่ายน้ำ 5 สระ คอกม้าติดแอร์สำหรับม้าที่ใช้แข่งโปโล จำนวน 200 ตัว ที่จอดรถในอาคารสำหรับรองรับรถได้ 110 คัน และยังมีห้องจัดเลี้ยงที่จุคนได้ถึงครึ่งหมื่น ทั้งที่ยังมีมัสยิดที่รองรับคนจำนวน 1,500คน โคมไฟระย้า 564 โคม หลอดไฟ 51,000 ดวง และลิฟต์อีก 18 ตัว

ภาษาของประเทศฟิลิปปินส์



ในปัจจุบันฟิลิปปินส์มีภาษาที่ใช้กันในแต่ละท้องถิ่นประมาณ 175 ภาษา ภาษาที่ใช้กันมาก ได้แก่ ตากาล็อก เซบัวโน อโลคาโน ฮิลิไกนอน บิโกลาโน วาไร-วาไร คาปามปางัน และปังกาซีนัน โดยมีภาษาประจำชาติและภาษาราชการคือ ภาษาฟิลิปิโน หรือ ภาษาตากาล็อก และภาษาอังกฤษ

ภาษาตากาล็อก หรือฟิลิปิโน เป็นภาษากลางและภาษาทางการของประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่มักใช้พูดในเมืองหลวงและตามจังหวัดชานเมืองเท่านั้น ส่วนคนต่างจังหวัดที่อยู่ภูมิภาคอื่นๆหรือเกาะอื่นๆจะมีภาษาถิ่นของตัวเอง และเป็นที่รู้กันดีว่าหากผู้มาเยือนไม่สามารถพูดภาษาท้องถิ่นในจังหวัดนั้นๆได้ ให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร

Wednesday, November 5, 2014

ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก AEC


ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)
ประชาคมอาเซียนที่จะถือกำเนิดในปี 2558 นั้น คนไทยจะได้ประโยชน์อะไร แน่นอนเราคงอยากทราบ แต่ในชั้นนี้ขอจำกัดเฉพาะทางเศรษฐกิจก่อน
จุด เปลี่ยนประเทศไทยรอบ 2 เกิดจาก AEC เพราะ AEC เป็นขบวนการรวมกลุ่มซึ่งหมายถึง 4 องค์ประกอบด้วยกัน คือ ขบวนการรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้า เปิดเสรีบริการ เปิดเสรีเงินทุน และเปิดเสรีแรงงาน อย่างอื่นเป็นผลติดตามมา
AEC จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงลึก เป็นต้นว่าระบบภาษีที่ใช้กันอยู่ ต่อไปต้องใช้อัตราใกล้เคียงกันหรือเหมือนกันทั้งหมด และสำคัญที่สุดเรื่องมาตรฐานก็ต้องใช้ “มาตรฐาน” แบบเดียวกันทั้งหมดนี่คือเรื่องราวที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป หรือสิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่เราควรจะเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ ที่สำคัญตอนนี้คือ ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยๆเราก็จะได้สื่อสารทางธุรกิจได้ เพราะหากสื่อสารไม่ได้ เรื่องอื่นก็คงไม่ต้องทำอะไรต่อ และถ้าจะหาลูกค้าแค่ในไทยก็อาจไม่เพียงพอแล้วเพราะ ธุรกิจต่างชาติก็จะมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดของเราแน่นอน เรื่อง AEC จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่ธุรกิจและคนไทยต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมให้ดี

Tuesday, November 4, 2014

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC


สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ประชาคมอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย  พม่า ลาว เวียดนาม  มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ บรูไน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เกิดขึ้นมาจากการพัฒนาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เนื่องจากสมาชิกอาเซียนเห็นว่า ปัจจุบันอาเซียนมีจำนวนประเทศ 10 ประเทศ ประชากรเกือบ 500 ล้านคน ดังนั้นถือว่าเป็นเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ จึงควรร่วมมือกัน
แม้อาเซียนจะมิได้มีสนธิสัญญาหรือกฎบัตรมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาเซียนก็ได้พัฒนาความร่วมมือโดยอาศัยฐานในทางกฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น การที่สมาชิกอาเซียนได้จัดทำสนธิสัญญาไมตรี และความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia 1976 หรือ TAC) ซึ่งก็เป็นการนำหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิมแล้วมาเน้นย้ำระหว่างรัฐในภูมิภาค
การก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 จะส่งผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทยและประเทศไทยจะยืนอยู่ตรงไหนในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป้าหมายด้านเศรษฐกิจหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างอาเซียน

Monday, November 3, 2014

เกาะมินดาเนา



ในบทความที่แล้ว เราพูดถึงเกาะลูซอน ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศฟิลิปปินส์ วันนี้เราจะพูดถึงเกาะมินดาเนา เป็นเกาะใหญ่รองจากเกาะลูซอน อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ที่มีที่ราบกว้างอยู่ 2 บริเวณ คือ ที่ราบลุ่มน้ำอากูซาน และที่ราบลุ่มแม่น้ำมินดาเนา
ศาสนาอิสลามได้เผยแผ่เข้าไปในเกาะ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ซึ่งเดินเรือให้แก่กษัตริย์สเปนได้เดินทางมาถึงเกาะนี้ ใน ค.ศ. 1521 ถึงแม้ว่าสเปนจะอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครอง แต่ก็ยังคงเป็นอิสระต่อการปกครองของสเปน เนื่องจากการต่อต้านจากประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม (โดยเฉพาะชนเผ่าโมโรส) ต่อมาได้รวมเข้าอยู่กับรัฐบาลของพลเรือนภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา

Sunday, November 2, 2014

เกาะลูซอน ในประเทศฟิลิปปินส์


เกาะลูซอน ในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเลยก็ว่าได้ ซึ่งเกาะลูซอนที่ว่านี้อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ มีที่ราบกว้างอยู่ 2 บริเวณ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำกากายัน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ และที่ราบมะนิลา อยู่ตอนกลางของเกาะ ซึ่งเป็นที่ราบใหญ่ที่สุดของประเทศ และเป็นที่ตังของกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์

Saturday, November 1, 2014

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์



หนึ่งในประเทศเพื่อนบ้านและสมาชิกอาเซียนที่มีความสัมพันธ์อันดีกับไทยมายาวนานมีคำขวัญประจำชาติว่า "เพื่อพระเจ้า ประชาชน ธรรมชาติ และบ้านเมือง" (Maka Diyos,Makatao, Makakalikasan at Makabansa) ฟิลิปปินส์มีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาล ทั้งบนผืนดิน ใต้ดิน และในท้องทะเล ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่มีเชื่อสายมลายู และยังผสมผสานกับจีน อเมริกัน สเปน และอาหรับ เนื่องด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานสมัยอาณานิคม ประเทศฟิลิปปินส์จึงมีความโดดเด่นในเรื่องการผสมผสานวัฒนธรรมที่หลากหลายทั้งตะวันออกและตะวันตกได้อย่างลงตัว